บทนำ

เรื่อง

พัฒนาการของยุโรปสมัยกลาง

ส 33101 ประวัติศาสตร์

ปีการศึกษา 1/2555

โรงเรียนสตรีวิทยา

ที่ปรึกษา

อ.ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล 

จัดทำโดย

1.ปาณิสรา  พรนิธิศ     ม.6.10  เลขที่ 1
2.ญาณิศา  ปิตะวิเศษวงศ์     ม.6.10  เลขที่ 5
3.ตีรณา  เลิศภิญโญภาสณ์   ม.6.10  เลขที่ 11
4. พาธินา  ศรีชาติ     ม.6.10  เลขที่ 13
5. แพรวไพลิน  ประดิษฐากร     ม.6.10  เลขที่ 15
อ้างอิง : •หนังสือเรียน ประวัติศาสตร์ ม. 4-6 –รศ. ดร. ไพฑูรย์  มีกุศล  และคณะ

เมืองที่เกิดจากการค้า มหาวิทยาลัยตะวันตก

เมืองที่เกิดจากการค้า 

การค้าของโลกได้ฟื้นตัวอีกครั้งหลังจากชะงักเป็นเวลาหลายร้อยปี

ก่อให้เกิดการฟื้นตัวของเมืองเก่าที่เคยรุ่งเรืองและการเกิดเมืองใหม่ๆ

เมืองกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรมของยุโรป

เกิดสมาคมอาชีพ เกิดระบบการเก็บภาษีอากร เกิดการปกครองท้องถิ่น

ที่เรียกว่าเทศบาล เกิดตลาดนัดงานแสดงสินค้า เกิดธนาคาร

พวกพ่อค้าได้กำหนดวันที่ 1มกราคมเป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่

ซึ่งสอดคล้องกับวันเฉลิมฉลองปีใหม่ของชาวโรมัน

 

มหาวิทยาลัยตะวันตก

มหาวิทยาลัยนับเป็นมรดกที่สำคัญของยุโรปในสมัยกลาง และเป็นผลิตผลโดยตรงของสังคมเมือง

เกิดขึ้นจากการขยายตัวและพัฒนาของโรงเรียนวัดซึ่งเป็นสถานที่อบรบสั่งสอนนักบวชและประชาชนทั่วไป มหาวิทยาลัยเจริญในเวลาอันรวดเร็วเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมือง สงครามครูเสด และการรับความรู้ใหม่ๆจากทางยุโรปตะวันออกและเอเชียไมเนอร์

มีหลักสูตรที่แน่นอนและนำเอาระบบสมาคมอาชีพมาใช้ในการฝึกหัดนักศึกษาและเจริญแพร่หลายอย่างกว้างขวาง

อารยธรรมสมัยกลาง

อารยธรรมสมัยกลาง

สถาปัตยกรรม :

มีผลงานด้านสถาปัตยกรรมอยู่2แบบ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างวัดและมหาวิหารในคริสต์ศาสนาโดยตรง คือ

แบบโรมาเนสก์(Romanesque) จุดเด่นคือ กำแพงหนา กระเบื้องปูพื้นขนาดใหญ่ บานหน้าต่างเล็กและเรียวยาว

และแบบกอทิก(Gothic) จุดเด่นคือ การใช้อิฐปูนค้ำยันจากภายนอกและการใช้เสาหินเพื่อรองรับน้ำหนักของหลังคา

ประตูหน้าต่างเป็นแบบโค้งแหลมขนาดกว้าง กำแพงประดับด้วยกระจกสี

 

วิหารและหอเอนปิซา ประเทศอิตาลี

สถาปัตยกรรมแบบ โรมาเนสก์

วิหารเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี

สถาปัตยกรรมแบบกอธิก

วรรณกรรม

นอกจากเน้นเรื่องราวความเชื่อในคริสต์ศาสนาแล้วยังมีวรรณกรรมทางโลกด้วย

แต่งเป็นภาษาละตินซึ่งถือว่าเป็นภาษาหนังสือที่เป็นสากลและภาษาสำคัญทางศาสนา

มหากาพย์

คีตกานท์

นิทานอุทาหรณ์

นิยายวีรคติหรือนิยายโรมานซ์

นิทานฟาบลิโอ

ความเสื่อมของศาสนจักร ในช่วงปลายสมัยกลาง

ความเสื่อมของศาสนจักรในช่วงปลายสมัยกลาง

สาเหตุสำคัญ คือ

การเกิดลัทธิชาตินิยมและรัฐชาติก่อตัวขึ้นในสมัยยุโรปกษัตริย์สามารถปกครองขุนนางได้

ประชาชนสนับสนุนอำนาจของกษัตริย์มากขึ้น

เกิดการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกษัตริย์ฝรั่งเศสกับสันตะปาปา

ความแตกแยกภายในของศาสนจักรอย่างรุนแรงจนถึงขั้นมีสันตะปาปา2องค์ในเวลาเดียวกัน เหตุการณ์ในยุติลงแต่ก็ทำให้คริสตจักรอ่อนแอลง

ทำให้เกิดความแตกแยกและเสื่อมศรัทธาในหมู่คริสต์ศาสนิกชน

 

การสิ้นสุดสมัยกลาง

การค้าขยายตัวตามเมืองต่างๆทั่วยุโรป เกิดชนชั้นกลางแทรกระหว่างชนชั้นสูงและชนชั้นต่ำ เป็นพวกที่สนับสนุนกษัตริย์เพื่อให้ปกป้องตน ขณะขุนนางในระบบฟิวดัลอ่อนแอลงทำให้กษัตริย์รวมดินแดนต่างๆตั้งเป็นรัฐชาติ  ประชาชนจึงหันไปสนใจอารยธรรมกรีกและโรมันนำไปสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้สมัยใหม่มีความแตกต่างจากสมัยกลางอย่างมาก

เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง

1.สงครามครูเสด ระหว่าง คริสต์ศาสนา และ อิสลาม

สาเหตุของสงคราม :

1. ด้านการเมือง : พวกเซลจุกเติร์ก เข้ามามีอำนาจในจักรวรรดิอาหรับและอิสลาม และยึดครองคาบมหาสมุทรตุรกีรวมทั้งรุกรานไบแซนไทน์

2. ด้านศาสนา : เซลจุกเติร์กได้เข้ามาปิดกั้นกรุงเยรูซาเลมไม่ให้ชาวคริตส์เข้าไปแสวงบุญ  จึงทำให้สันตะตา

ปาปาชักชวนชาวคริสต์ให้ทำสงครามศักดิ์สิทธิ์

เหตุผลที่ชาวยุโรปเข้าร่วมสงครามครูเสด เพราะ

•1. ชาวยุโรปมีความศรัทธาในศาสนามาก
•2. บุคคลที่ไม่มีที่ดิน ต้องการจะมีที่ดิน
•3. ประชาชนต้องการเสี่ยงโชคและผจญภัย
•4. พ่อค้าอิตาลีต้องการขยายพื้นที่ค้าขาย
•5. การแข่งขันอำนาจระหว่างกษัตริย์และขุนนาง

ผลกระทบของสงครามครูเสด

1.ระบบฟิวดัลเสื่อมลง
2. ทำให้การค้าขายขยายตัวไปทั่ว
3. เมืองต่างๆกลายเป็นศูนย์กลางในการค้าขาย
4. ทำให้เมืองต่างๆขยายตัว
5.ชนชั้นผู้นำของกองทัพครูเสดได้นำเอาอารยธรรมกรีกโรมัน

2.สงครามร้อยปี

อังกฤษและฝรั่งเศส

-ศาสนจักรไม่แทรกแซง
-กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองตัวเอง
-อำนาจขุนนางลดลง
-ในอังกฤษ กษัตริย์ต้องยอมจำนน เพราะเกิดควมขัดแย้ง
-ต่อมาคณะขุนนางพระกลายเป็นสมาชิกรัฐสภาของอังกฤษ
-ส่วนฝรั่งเศส กษัตริย์เพิ่มอำนาจมากขึ้น กลายเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สงครามร้อยปี ระหว่าง อังกฤษกับฝรั่งเศส

สาเหตุของสงครามร้อยปี

1.เรื่องความขัดแย้งในเรื่องดินแดนระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส
2. สิทธิในราชบังลังก์ฝรั่งเศส
3. อังกฤษต้องการผนวกสกอตแลนด์
4.ความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ
5.สาเหตุภายในประเทศ

ผลกระทบของสงครามร้อยปี

ต่อประเทศอังกฤษ

1.กษัตริย์อังกฤษหันมาสนใจกิจการภายในประเทศ
2. เพิ่มอำนาจของรัฐสภาอังกฤษในการต่อรองกับกษัตริย์
3. ให้เกิดชาตินิยม
4. ขุนนางเสียชีวิตและยากจนลง ทำกษัตริย์รวมอำนาจได้

ต่อประเทศฝรั่งเศส

1.ส่งเสริมอำนาจเด็ดขาดแก่กษัตริย์ ให้ปรับปรุงกองทัพ
2. รัฐสภาได้ยอมรับอำนาจของสถาบันกษัตริย์
3. กระตุ้นความคิดชาตินิยม

การเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมของยุโรปสมัยกลาง ระยะปลาย

ระยะปลาย : ระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่สมัยใหม่

การเมือง

1.ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์

เหตุ : จักรพรรดิเยอรมันทรงพยายามรวมจักรวรรดิในเยอรมันและอิตาลี ซึ่งขัดกับอำนาจฝ่ายเหนือฝ่ายอาณาจักร

ผล : จักรพรรดิกลายเป็นตำแหน่งไม่มีอำนาจ เยอรมันอิตาลีแตกแยก

 

2.  การเกิดรัฐชาติ

เหตุ : ขุนนางไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ขณะเดียวกันกษัตริย์ก็หันไปพึ่งพาพวกพ่อค้ามากขึ้น

ผล :  ระบบฟิวดัลจึงเสื่อมลง ชาติเกิดการแตกแยก

 

เศรษฐกิจ 

ช่วงคริสต์วรรษที่ 14 : ช่วงเวลาของการเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจ สาเหตุ      มาจากสภาวะสงคราม และ การเกิดกาฬโรค

สังคม

ชนชั้นกลางต้องการรัฐบาลกลางที่เข็มแข็ง ขณะเดียวกันกษัตริย์ต้องการการสนับสนุนจากชนชั้นกลาง จึงก่อให้เกิดลักษณะสังคมที่เปลี่ยนไปคือ

1. สังคมระบบฟิวดัลเสื่อมลง

2.ชนชั้นกลางขึ้นมามีอำนาจแทนที่ชนชั้นขุนนาง

3. เกิดขบวนการนักวิชาการสายมนุษย์นิยมหันไปสนใจศึกษาอารยธรรมกรีกและโรมัน

 

 

การเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมของยุโรปสมัยกลาง ระยะกลาง

ระยะกลาง : ระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง

การเมือง  : ความขัดแย้งระหว่างคริสตจักรกับจักรวรรดิ

หลังจากอาณาจักรแฟรงก์ล่มสลาย ได้แบ่งแบกออกเป็น ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี

–  เยอรมัน ไม่มีอำนาจมากนักจนกระทั่งสมัย พระเจ้าออทโท1 ในที่สุดพระสันตะปาปาว่าศาสนจักรมีอำนาจเหนือกว่าจักรวรรดิ ทำให้เกิดการขัดแย้งเกิดขึ้น และจักรพรรดิก็พ่ายแพ้ที่กรุงโรม

เศรษฐกิจ : 

ระยะแรกซบเซาเพราะมีระบบพึ่งพาตัวเอง แต่หลังจากสงครามระหว่างคริสต์ศาสนากับอิสลามจบลง

ทำให้เกิดความต้องการสินค้า ส่งผลให้ชาวบ้านทิ้งที่นา มาทำการค้าขาย

 

สังคม 

หลังจากคริสต์วรรษที่ 11 การขยายตัวทางการค้าและอุตสาหรรมเจริญมากขึ้น โดยเฉพาะแถบเมดิ-เตอร์เรเนียน

ผลของการค้ารุ่งเรือง  ทำให้สังคมฟิวดัลและขุนนางเริ่มเสื่อมอำนาจลง พวกพ่อค้ามีอำนาจมากขึ้น

การเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมของยุโรปสมัยกลาง ระยะต้น และยุคมืด

การเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมของยุโรปสมัยกลาง

ระยะต้น : เป็นสมัยที่มีความตกต่ำทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เรียกว่า ยุคมืด

การเมือง : ฟื้นฟูระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจโดยรับแนวความคิดมาจากคริสต์ศาสนา แบ่งแยกจักรวรรดิออกเป็นแคว้นต่างๆ นำไปสู่การปกครองแบบฟิวดัล

เศรษฐกิจ : เกษตรกรรมใช้ระบบนาแบบโล่ง ส่วนใหญ่ปลูก ข้าวสาลีข้าวโอ๊ต และข้าวบาเรย์

สังคม : ขาดระเบียบวินัยและความมั่นคง ภาวะตกต่ำ ทำให้ประชาชนเข้าพึ่งศาสนา มีประมุขทางคริสตศาสนา คือพระสันตะปาปา

 

 

ยุคมืด

หมายถึงช่วงเวลาของความเสื่อมโทรมทั้งทางวัฒนธรรมและทางสังคมในยุโรปหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน มาจนถึงในสมัยที่มีการฟื้นฟูการศึกษากันขึ้นอีกครั้งแต่ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของความสำเร็จต่างที่เกิดขึ้นในยุคนี้ทำให้ภาพพจน์ของลักษณะความเป็นยุคมืดเปลี่ยนไป

“ยุคมืด” เป็นความคิดที่เริ่มโดยนักปรัชญาชาวอิตาลีเพทราค ในคริสต์ทศวรรษ 1330 โดยมีความตั้งใจที่จะเป็นการวิจารณ์ลักษณะของวรรณกรรมภาษาละตินโดยทั่วไป นักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมาขยายความจนรวมไปถึงช่วงเวลาที่คาบระหว่างสมัยโรมันโบราณไปจนถึงยุคกลางตอนกลาง (High Middle Ages) ที่รวมทั้งการขาดแคลนวรรณกรรมภาษาละติน, ขาดแคลนหลักฐานทางเอกสารทางประวัติศาสตร์, การลดจำนวนของประชากร, การลดจำนวนการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม และการหยุดยั้งความเจริญทางวัตถุและทางวัฒนธรรมโดยทั่วไป นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้บรรยายถึงความล้าหลังด้วย

 

 

 

พัฒนาการของยุโรปสมัยกลาง

พัฒนาการของยุโรปสมัยกลาง 

1. อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง

2. การเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมของยุโรปสมัยกลาง

3. อารยธธรมสมัยกลาง

4. เหตุการ์ณสำคัญในยุโรปสมัยกลาง

 

อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง

ศาสดา คือ พระเยซูคริสต์ จักพรรดิคอนแสตนตินที่ 1 ทรงนับถือคริสต์ศาสนาจักพรรดิทีโอโอซิอัสที่ 1 ประกาศให้เป็นศาสนาประจำจักวรรดิโรมัน

บทบาททางสังคม

คริสตศาสนามีอิทธิพลมาก แผ่อิทธิพลทั่วประเทศยุโรป

ในสมัยกลางคริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมยุโรป เพราะสังคมมีแต่ความวุ่นวายและความเสื่อม ผู้ที่ปรารถนาจะหลบหนีจากความวุ่นวายได้พบว่า คริสต์ศาสนาสามารถให้ความรู้สึกที่มั่นคงทางจิตใจได้ คริสต์ศาสนาจึงแผ่อิทธิพลไปทั่วยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 ศาสนจักรมีอำนาจสูงสุดเหนือสถาบันใด ๆ และเข้าไปมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวยุโรปอย่างกว้างขวาง

 

บทบาททางการเมือง

1 ระบบกษัตริย์ 2 ระบบฟิวดัล 3 ระบบศาล

ศาสนาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในระบบการเมืองของยุโรปทั้งในระบบกษัตริย์และระบบฟิวดัลรวมทั้งระบบศาล – ระบบกษัตริย์ ศาสนจักรได้อ้างอำนาจเหนือกษัตริย์และขุนนางในฐานะของผู้สถาปนากษัตริย์ในสมัยกลาง – ระบบฟิวดัล ศาสนจักรได้เข้ามามีบทบาทในการยุติสงครามการแย่งที่ดินระหว่างเจ้านายที่ดินต่าง ๆ และการที่ศาสนจักรมีที่ดินจำนวนมากทำให้ศาสนจักรต้องไปเกี่ยวข้องกับเจ้าของที่ดิน – ระบบการศาล ศาสนจักรได้จัดระบบการพิจารณาศาล จึงอ้างในสิทธิที่จะพิจารณาคดีทั้งศาสนาและทางโลก

บทบาททางเศรษฐกิจ

มีการเก็บภาษีโดบตรงจากประชาชน วางรูปแบบการบริหารงานทำให้คริสตจักรเป็นสถาบันที่มีกฎระเบียบ มีพระสันตะปาปา เป็นประมุขสูงสุด

ศาสนจักรเป็นแหล่งรวมความมั่งคั่งในสมัยกลาง เนื่องจากศาสนจักรได้เงินภาษีจากประชาชน และบรรณาการที่ดินที่ชนชั้นปกครองมอบให้ศาสนจักร แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศาสนจักรมีอำนาจในสมัยกลาง ได้แก่ การจัดการอำนาจแบบรวมศูนย์ที่มีประสิทธิภาพของศาสนจักรได้วางรูปแบบการบริหารงานเลียนแบบการบริหารของจักรวรรดิโรมัน ทำให้คริสตจักรเป็นสถาบันที่มีกฎระเบียบและมีเป้าหมายชัดเจนโดยมีสันตะปาปา (Pope) เป็นประมุขสูงสุด และมีคาร์ดินัล (cardinal) เป็นที่ปรึกษา ในส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นมณฑล ซึ่งมีอาร์ชบิชอป (archbishop) เป็นผู้ปกครอง ถัดจากระดับมณฑล คือ ระดับแขวง ภายใต้การปกครองของบิชอป (bishop) ส่วนหน่วยระดับล่างสุด คือ ระดับตำบล มีพระหรือบาทหลวง (priests) เป็นผู้ปกครอง